วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

พบถังบรรจุสารเคมีต้องสงสัยว่าเป็น สารฝนเหลือง ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่มา : เว็บ
          19 มีนาคม 2542 พบถังบรรจุสารเคมี สภาพผุกร่อนขนาด 200 ลิตร ซึ่งไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ 1 ถัง และถังบรรจุสารเคมีจำนวน 5 ถัง ขนาดบรรจุ 15 ลิตร มีข้อความและหมายเลขกำกับว่า "Delaware Barrel PAT NO 2842282, Tri-sure, American lange, NY" ต้องสงสัยว่าเป็น "สารฝนเหลือง" ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุกฝ่ายเรียกร้องให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นสารเคมีตัวเดียวกับ "สารฝนเหลือง" (Agent Orange) ซึ่งสหรัฐอเมริกานำมาใช้ในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี 2504-2518 เพราะเป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดรุนแรงที่ทหารอเมริกันใช้ฉีดพ่นเหนือผืนป่าอันกว้างใหญ่ของเวียดนามใต้ เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองร้อยละ 60 หรือ 42 ล้านลิตร จากจำนวนสารเคมี 72 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น

กลิ่นเหม็นคลุ้ง โรงงานพลาสติกสารเคมีรั่วไหล ครูรีบพาเด็กหนีเข้าห้องแอร์จ้าละหวั่น

ที่มา : เว็บ
        เกิดเหตุสารเคมีรั่วส่งกลิ่นเหม็นเข้าไปโรงเรียน คณะครูต้องพาเด็กนักเรียนเข้าห้องแอร์ โรงงานยันไม่เป็นอันตราย (5 ก.ย.62) เมื่อเวลา 13.30 น. เกิดเหตุสารเคมี ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ต.เชิงเนิน อ.เมืองระยอง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรั่วไหล ทำให้มีกลิ่นเหม็น เข้าไปในชุมชน โรงเรียน และวัดปลวกเกตุ ทางโรงเรียน ต้องอพยพนักเรียนเข้าในห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศ และติดต่อให้ผู้ปกครองมารับบุตรหลานกลับบ้านซึ่งขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เข้ามาตรวจสอบและแจกหน้ากากกันสารพิษให้นักเรียนสวมใส่ พร้อมเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยทางบริษัทได้ออกหนังสือชี้แจงว่า สาเหตุเนื่องจากมีการปรับระบบกระบวนการผลิต ที่ส่งไปเผาที่ Flare TPLT(TF2) ทำให้มีกลิ่นออกมา ยืนยันไม่มีอันตรายต่อชีวิตแต่อย่างใด โดยเวลา 15.10 น. ทางบริษัทได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว

หนุ่มสะพายถังยาฆ่าหญ้าแต่เกิดรั่วลงหลังถึงก้น-สารเคมีทำลายอวัยวะภายใน สุดท้ายเสียชีวิต

ที่มา : เว็บ
               หมอโพสต์อุทาหรณ์คนไข้สะพายถังยาฆ่าหญ้า รั่วรดหลัง-ก้น ดับ เป็นแผล ปวดแสบทรมาน สุดท้ายเสียชีวิตเมื่อ7 ส.ค. พญ.ณัฐกานต์ ชื่นชม อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ของโรงพยาบาลแม่สอด ได้โพสต์เรื่องราวหลังการรักษาคนไข้ที่ สะพายถังยาฆ่าหญ้า แต่มันเกิดรั่วไหลลงหลังและก้น จนเป็นแผลปวดแสบปวดร้อน"ฉันตาลีตาเหลือกทำเรื่องนอนโรงพยาบาลให้คนไข้..นี่ไม่ใช่เคสแรกของการเป็นหมอของฉัน ฉันเคยมีคนไข้ชาวนาที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับพาราควอตด้วยวิธีการเดียวกันนี้สองคนก่อนหน้า"คุณหมอณัฐกานต์ พยายามที่จะช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ แต่สุดท้ายไม่เป็นผล คนไข้ถูกพิษจากสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย ทำลายอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต และปอด ก่อนเสียชีวิตคนไข้มีอาการหอบลึก ออกซิเจนต่ำ ดิ้นทุรนทุรายร้องโหยหวนดูทุกข์ทรมาน ซึ่งญาติๆ เข้าใจดีว่าคนไข้ต้องจากไปจึงไม่ให้หมอใส่ท่อช่วยหายใจ หมอทำได้เพียงให้ยามอร์ฟีนให้คนไข้สงบที่สุด ทั้งนี้ พญ.ณัฐกานต์ วอนให้มีการห้ามใช้พาราควอต (Paraquat) สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือ ยาฆ่าหญ้า ในไทย เพราะในแต่ละปีโรงพยาบาลมีคนไข้เคสดังกล่าวเกือบ 20 ราย มีเพียงแค่ 1-2 คนที่รอดชีวิตเท่านั้น ยังไม่นับรวมกรณีที่หยิบผิดคิดว่าเป็นน้ำดื่ม หรือจงใจดื่มเพื่อฆ่าตัวตาย

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

ปคบ.จับรง.ผลิตสารเคมีเถื่อนค่า50ล้าน

ที่มา : เว็บ
              ปคบ. บุกจับโรงงานผลิตสารเคมีเถื่อน ค่ากว่า 50 ล้านบาท พื้นที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พ.ต.ท.เทิม ผิวขำ สว.กก.2 บก.ปคบ. ร.ต.อ.ลือชัย ตันชนะประดิษฐ์ รอง สว.2 บก.ปคบ. ร.ต.ท.คมกฤษณ์ เพ็ชรชาญชัย รอง สว.กก.2 บก.ปคบ. ร.ต.ท.จำรูญ คำมา รอง สว.กก.2 บก.ปคบ. นายฐิติพงษ์ เพ็งแพง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ นายวิทยา ยิ่งยวด เจ้าพนักงานเกษตรปฏิบัติงาน ได้นำหมายค้นศาลจังหวัดนครปฐม เข้าตรวจค้นที่บ้านเลขที่ 55/6 หมู่ที่ 4 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ในเนื้อที่จำนวน 2 ไร่ ที่เปิดเป็นโรงงานผลิตสารเคมีอันตรายและเคมีการเกษตรยี่ห้อต่างๆ ในชื่อ บริษัท สปิริต อะโกร จำกัด ซึ่งเป็นของ นายชนะ สุดประเสริฐ ขณะเข้าตรวจค้นไม่อยู่ เจ้าหน้าที่จึงได้สอบถาม น.ส.ผาณิต สุดประเสริฐ ที่รับเป็นผู้ดูแลและนำตรวจค้น โดยมีคนงานชายหญิงกำลังทำงานอยู่ตามจุดต่างๆ จำนวน 15 คน หลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์พบว่ามีอยู่หลายยี่ห้อที่ไม่มีเอกสารแสดงสินค้าที่ถูกต้อง ไม่ระบุสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์บางชนิดมีการใช้สารเคมีที่กรมวิชาการเกษตร ไม่อนุญาตให้ใช้ในการเกษตรจำนวนหลายรายการ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้าน

สธ. รับแล้วสารเคมีในผัก-ผลไม้ ล้างยังไงก็ไม่หมด เล็งแบนสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ 3 ชนิด

ที่มา : เว็บ
      ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมแบนสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ 3 ชนิด ก่อนรับ สารเคมีในผัก-ผลไม้ ล้างยังไงก็ไม่หมด แนะเลือกซื้อผักและผลไม้จากเกษตรอินทรีย์รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (2 ต.ค. 2561) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ออกมาโพสต์ข้อความโจมตีทางกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ออกมาแถลงข่าวว่า ผักและผลไม้ที่วางจำหน่ายอยู่ในประเทศมีเกณฑ์ปลอดภัย และพืชผักผลไม้ที่มีสารพิษปะปนอยู่ล้างออกได้แต่แท้ที่จริงๆ แล้ว สารที่ตกค้างส่วนใหญ่ประมาณ 60% ล้างไม่ออก  แถมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมีประมาณ 280 ชนิด แต่ส่วนใหญ่การสุ่มตรวจที่ผ่านมาของหน่วยงานราชการตรวจได้เพียง 10% ของจำนวนสารที่มีการใช้ในประเทศเท่านั้น ว่าการล้างก็เป็นวิธีหนึ่งที่อาจทำให้สารเคมีบางอย่างลดปริมาณลง แต่ขอยืนยันว่าไม่สามารถล้างจนปลอดจากสารเคมีได้ และไม่มีวิธีใดที่ทำให้สารเคมีไม่ปนเปื้อน และเมื่อมีการบริโภคก็อาจมีการสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ทั้งนี้ สธ.ยืนยันว่าจะต้องแบนสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสารเคมี 3 ชนิด คือ พาราควอท, ไดลโฟเสท และ คลอไพรีฟอส และสารพิษฆ่าแมลงซึ่งมีอยู่สี่กลุ่มด้วยกันแต่เนื่องจากการแบนไม่ใช่หน้าที่ของ สธ. จึงจะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณา แต่หน้าที่หลักของ สธ. คือให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันจากการสุ่มตรวจพบการปนเปื้อนอยู่ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดีเพื่อความปลอดภัยประชาชนควรเลือกซื้อผักและผลไม้จากเกษตรอินทรีย์ หรือแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และเพื่อความปลอดภัยตั้งแต่ต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงควรผลักดันในเรื่องห้ามใช้สารเคมีสารพิษในพืชผักผลไม้ เพื่อจะได้ไม่มีสารพิษปนเปื้อนอยู่ในผลผลิต

กปภ.ชี้แจงน้ำประปามีสีขุ่นดำ ที่ อ.เมืองเลย เกิดจา กเติมสารเคมีไม่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ

ที่มา:  เว็บ
      น้ำเสีย ชาวบ้านใน ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นห่วงท้องทะเล เนื่องจากมีการแอบปล่อยน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งชายฝั่ง ลงสู่ทะเล น้ำที่เคยใสสะอาด มีสีดำขุ่น เป็นการทำลายระบบนิเวศ ที่สำคัญกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบด่วนน่าสงสัย ใน ซอยเทศบาลบางปู 47 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ ชาวบ้านสงสัย ภายในซอยแยก 14/1 เลยโรงเรียนไป มีแนวรั้วเมทัลชีตล้อมไว้ รถวิ่งเข้า-ออกอย่างพลุกพล่านตลอด 24 ชั่วโมง ส่งเสียงดังเหมือนกับทำอะไรกันบางอย่าง ฝาก สภ.เมืองสมุทรปราการ หรือหน่วยงานของทหาร เข้าไปพิสูจน์ที ว่ามีอะไรดี...ปรับปรุง ผู้ใช้ศาลาผู้โดยสารแจ้งว่า บริเวณใต้สะพานวงแหวนเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม จากการปรับปรุงถนนพระราม 2 ที่เพิ่งทำเสร็จถนนเรียบร้อยดี แต่ที่น่าจะปรับปรุงคือศาลาที่พักผู้โดยสารหลังเก่า เพราะอยู่ต่ำจากถนนมากเหมือนกับเป็นหอไตรกลางน้ำ ผู้โดยสารเดินศีรษะแทบจะชนหลังคา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขด้วย...เสียงดัง ผู้อาศัยอยู่ใน ซอย 10 เทียนทะเล เขตบางขุนเทียน แจ้งว่า ทุกวันตั้งแต่ช่วงเย็นเป็นต้นมา ที่ กลางซอยมีร้านค้าแห่งหนึ่ง มีกลุ่มวัยรุ่นตั้งวงดื่มสุรา จนดึกๆดื่นๆ พอเมาได้ที่ ขว้างขวด ขว้างแก้วกลางถนน เปิดเพลงเสียงดัง ชาวบ้านไม่ได้หลับไม่ได้นอน พอบอกให้เบาเสียงลง ก็ถูกด่า ผกก.สน.ท่าข้าม ส่งลูกน้องช่วยชาวบ้านที...กองสื่อสารองค์กร การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ชี้แจงกรณี น้ำประปาหมู่บ้านที่บ้านสามแยก–ปากภู อ.เมืองเลย มีสีขุ่นดำนั้น ตรวจสอบแล้วเป็นประปาหมู่บ้าน กปภ.เลยลงพื้นที่พบว่าเกิดจากเติมสารเคมีไม่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ ได้แนะนำ ทำความเข้าใจ รวมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมแก้ไขปัญหาแล้ว

ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่


ที่มา:  เว็บ
        ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมี ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่าสารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ (polyketides) คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยความสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย ยาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อพอลิคีไทด์ คลาสทู (polyketides Class II) เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย อันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในธรรมชาติ และไม่เพียงช่วยให้นักวิจัยทดลองสารพอลิคีไทด์ใหม่ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึงสิบชนิด

พบถังบรรจุสารเคมีต้องสงสัยว่าเป็น สารฝนเหลือง ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่มา : เว็บ           19 มีนาคม 2542  พบถังบรรจุสารเคมี สภาพผุกร่อนขนาด 200 ลิตร ซึ่งไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ 1 ถัง และถังบรรจุสารเคมี...